เมนู

[335] วิญญาณฐิติ 7


1. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญา
ต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ เทพบางพวกและวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติ
ข้อที่หนึ่ง.
2. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีปัญญา
อย่างเดียวกัน เช่นเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหม ซึ่งเกิดในปฐมฌานภูมิ
นี้วิญญาณฐิติข้อที่สอง.
3. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม.
4. ก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่.
5. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการ
ทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณ-
ฐิติข้อที่ห้า.
6. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจาย-
ตนะโดยประการทั้งปวงแล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า
วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก.
7. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจาย-
ตนะโดยประการทั้งปวงแล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่
มีอะไร นี้วิญญาณฐิติข้อที่เจ็ด.

[336] ทักขิเณยยบุคคล 7


1. อุภโตภาควิมุตตะ 2. ปัญญาวิมุตตะ

3. กายสักขี 4. ทิฏฐิปัตตะ
5. สัทธาวิมุตตะ 6. ธัมมานุสารี
7. สัทธานุสารี.

[337] อนุสัย 7


1. กามราคานุสัย 2. ปฏิฆานุสัย
3. ทิฏฐานุสัย 4. วิจิกิจฉานุสัย
5. มานานุสัย 6. ภวราคานุสัย
7. อวิชชานุสัย.

[338] สัญโญชน์ 7


1. กามสัญโญชน์ 2. ปฏิฆสัญโญชน์
3. ทิฏฐิสัญโญชน์ 4. วิจิกิจฉาสัญโญชน์
5. มานสัญโญชน์ 6. ภวราคสัญโญชน์
7. อวิชชาสัญโญชน์.

[339] อธิกรณสมถะ 7


เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
1. พึงให้สัมมุขาวินัย
2. พึงให้สติวินัย
3. พึงให้อมุฬหวินัย
4. พึงให้ทำตามปฏิญญา
5. พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
6. พึงลงโทษตามคำผิด
7. พึงใช้ติณวัตถารกวิธี.